มาสเตอร์-สเลฟ เจเคฟลิปฟล็อบ ของ เจเคฟลิปฟล็อป

เนื่องจากวงจรของ J-K ฟลิปฟล็อป จะต้องนำสัญญาณทางเอาต์พุตป้อนกลับมาทางอินพุต การใช้งานบางประเภทจะทำให้ฟลิปฟล็อปทำงานผิดพลาดได้ ถ้าหากมีการใช้ J-K ฟลิปฟล็อป แบบมีสัญญาณพัลส์ควบคุม (Cp) จะนำ J-K ฟลิปฟล็อป สองตัวมาต่อกัน เรียกว่า Master-Slave J-K ฟลิปฟล็อป โดยตัวแรก เรียกว่า Master ตัวที่สอง เรียกว่า Slave ดังรูป โดยให้ขา Q ของ Master ต่อกับขา J ของ Slave และ Q- ของ Master ต่อกับขา K ของ Slave

รูปที่ 3 JK-FlipFlop แบบ Master-Slave ที่กระตุ้นด้วยลอจิกบวก

จากรูป จะพบว่าถ้าให้สัญญาณควบคุมเป็น "1" จะทำให้เกตแบบ AND ตัวที่ 1 และ 2ส่งข้อมูลจาก J,K เข้าไปใน Master และขณะนั้นตัว Slave จะอยู่ในสภาวะคงค่าข้อมูล (latch) แต่ถ้าสัญญาณควบคุมเป็น "0" จะทำให้ตัว Master อยู่ในสภาวะคงค่าข้อมูล ส่วนตัว Slave จะรับข้อมูลจาก Q และ Q- ของ Master เข้ามา และทำงานตามที่ตัว Master ได้คงค่าข้อมูลเอาไว้ สำหรับสัญลักษณ์ของ Master –Slave J-K ฟลิปฟล็อป จะเหมือนกับ J-K ฟลิปฟล็อป ธรรมดา

รูปที่ 4 การทำงานของ Master-Slave


ฟลิปฟล็อปประเภทนี้ถ้ามีข้อมูลเข้ามาทางขา J และ K เอาต์พุตจะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีสัญญาณเข้ามาทาง Cp (เปลี่ยนจากลอจิก "1" เป็นลอจิก "0" หรือเปลี่ยนจากลอจิก "0" เป็นลอจิก "1") สัญลักษณ์ของ J-K ฟลิปฟล็อปแบบกระตุ้นด้วยขอบขาขึ้นและขาลงแสดงได้ดังรูป

รูปที่ 5 สัญลักษณ์ของ JK-FlipFlop ที่กระตุ้นด้วยขอบบวกและขอบลบ

ในรูป (ก) ค่าเอาต์พุต Q ของฟลิปฟล็อปจะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีขอบขาขึ้นเข้ามาหรืออินพุต Cp เปลี่ยนจากลอจิก "0" เป็นลอจิก "1" ส่วนรูป (ข) จะเป็นการกระตุ้นด้วยขอบขาลง เอาต์พุต Q จะเปลี่ยนแปลงเมื่ออินพุต Cp เปลี่ยนจากลอจิก "1" เป็นลอจิก "0" ในขาของไอซีประเภทนี้จะเขียนลาเบลเป็น Cp การทำงานของ J-K ฟลิปฟล็อปที่กระตุ้นด้วยขอบขาลงแสดงได้ดังรูป (ข)

รูปที่ 6 (ก) และ 6 (ข) ฟังก์ชันการทำงานของฟลิปฟล็อปที่กระตุ้นด้วยขอบขาลง